เมนู

6. กามทสูตร



[232] กามทเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้ทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า การทำสมณธรรมทำได้
โดยยาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า การทำสมณธรรมทำได้โดยแสนยาก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ชนทั้งหลาย ผู้ตั้งมั่นแล้วด้วยศีล
แห่งพระเสขะ มีตนตั้งมั่นแล้ว ย่อมกระ-
ทำสมณธรรม แม้ที่ทำได้โดยยาก ความ
ยินดี ย่อมนำสุขมาให้แก่บุคคลผู้เข้าถึง
แล้ว ซึ่งการบวชไม่มีเรือน.

[233] กามทเทวบุตรทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อที่หาได้
ยาก คือ สันตุฏฐี ความสันโดษ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ชนเหล่าใด ขึ้นดีแล้วในความสงบ
แห่งจิต ชนเหล่าใด มีใจยินดีแล้วใน
ภาวนา ทั้งกลางวันและกลางคืน ชน-
เหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมได้แม้ซึ่งสิ่งที่ได้
โดยยาก.

[234] กามทเทวบุตรทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ธรรมชาติที่
ตั้งมั่นได้ยาก คือ จิต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ชนเหล่าใด ยินดีแล้วในความสงบ
อินทรีย์ ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมตั้งมั่นซึ่งจิต
ที่ตั้งมั่นได้ยาก ดูก่อนกามทเทวบุตร อริยะ
ทั้งหลายเหล่านั้นย่อมตัดข่ายแห่งมัจจุไป.

[235] กามทเทวบุตรทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทางที่ไปได้
ยาก คือ ทางที่ไม่เรียบ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนกามทเทวบุตร พระอริยะ
ทั้งหลาย ย่อมไปได้ แม้ในทางที่ไม่เรียบ
ที่ไปได้ยาก ผู้มิใช่อริยะ ย่อมเป็นผู้บ่าย
ศีรษะลงต่ำเบื้องต่ำ ตกไปในทางอันไม่เรียบ
ทางนั้นย่อมสม่ำเสมอสำหรับอริยะทั้งหลาย
เพราะอริยะทั้งหลาย เป็นผู้สม่ำเสมอ ใน
ทางอันไม่เรียบ.

อรรถกถากามทสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในกามทสูตรที่ 6 ต่อไป :-
บทว่า ทุกฺกรํ ความว่า ได้ยินว่า เทพบุตรองค์นี้ เคยเป็นพระ-
โยคาวจร ข่มกิเลสทั้งหลาย ด้วยความพากเพียร เพราะเป็นผู้มีกิเลสหนา
กระทำสมณธรรม ก็ยังไม่บรรลุอริยภูมิ เพราะมีอุปนิสัยในปางก่อนน้อย
กระทำกาละ [ตาย] แล้วไปบังเกิดในเทวโลก ไปยังสำนักพระตถาคตมา
ด้วยหวังจะทูลบอกว่า. สมณธรรมทำได้ยาก จึงทูลอย่างนี้. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ทุกฺกรํ ความว่า ขึ้นชื่อว่า การกระทำสมณธรรมให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว
ตลอด 10 ปีบ้าง ฯลฯ 60 ปีบ้าง ชื่อว่ากระทำได้ยาก. บทว่า เสกฺขา ได้แก่
พระเสขะ 7. บทว่า สีลสมาหิตา แปลว่า ตั้งมั่นเข้าประกอบแล้วด้วยศีล.
บทว่า ฐิตตฺตา แปลว่า สภาวะที่ตั้งมั่นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรง
แก้ปัญหาที่เทพบุตรทูลถามอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงตั้งปัญหาให้สูงขึ้น
ไปอีก จึงตรัสว่า อนคาริยุเปตสฺส เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
อนคาริยุเปตสฺส ได้แก่ ผู้เข้าถึงความไม่มีเรือน คือปราศจากเรือน. จริงอยู่
ภิกษุอยู่บนปราสาทแม้ 7 ชั้น เมื่อถูกพระภิกษุผู้แก่กว่ามาบอกว่า เสนาสนะ
นี้ตกถึงผม ดังนี้ ย่อมถือเอาบาตรจีวรออกไปโดยดี เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ผู้เข้าถึงความไม่มีเรือน. บทว่า ตุฏฺฐิ ได้แก่
ความสันโดษด้วยปัจจัย 4. บทว่า ภาวนาย ได้แก่ ในการอบรมความสงบ
แห่งจิต.
บทว่า เต เฉตฺวา มจฺจุโน ชาลํ ความว่า พระอริยะเหล่าใด
ยินดีแล้วในความสงบแห่งอินทรีย์ ทั้งกลางวันและกลางคืน พระอริยะเหล่านั้น